วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

จากเหมืองกะทะทองมาเป็นกะทะทองกอล์ฟคลับ


     วันนี้บ้านตีนเขาแห่งตำบลทุ่งคาโงกไม่เหลือสภาพเหมืองเก่าให้เห็นอีกแล้วคนเก่าคนแก่ยุคเหมืองทุ่งคาโงกต่างก็พากันล้มหายตายจากไปเกือบหมด ไม่เห็นลูกหลานของตาเฉยควาญช้าง นายรวยคนเลี่ยงลิงหรือเจ้ากี๊คนหูหนักแห่งเหมืองทุ่งคาโงก ไม่เห็นคลองหลังกงษี หินคางคกแม้แต่ก้อนเดียวก็ไม่เหลือให้เห็น สภาพพื้นที่ปัจจุบันกลายเป็นสวนปาล์มไปหมด ตีนเขาที่เคยเป็นแหล่งแร่ดีบุกกลายมาเป็นเรือกสวน ป่าไม้กลายเป็นสวนปาล์ม น้ำบนเขาที่เคยไหลแรงทุกวันนี้มีเหลือแค่พอไหลเอื่อยๆในคลองตื้นๆ ช้างที่เคยลากซุงเป็นอาชีพก็ต้องปรับตัวมาเป็นช้างให้นักท่องเที่ยวขึ้นนั่งชมป่า
  1. Hydraulic mining, or hydraulicking, is a form of mining that uses high-pressure jets of water to dislodge rock material or move sediment. In the placer mining of gold or tin, the resulting water-sediment slurry is directed through sluice boxes to remove the gold.


    ภาพวาดแสดงการฉีดเหมืองในอเมริกาและถูกมาปรับใช้กับเหมืองดีบุกในประเทศไทย

           ขับรถวนดูสภาพพื้นที่โดยรอบก็ไม่พบสิ่งน่าประทับใจก็เลยกลับออกมาจากตีนเขาแวะดูสภาพของบางมุด มันก็มีสภาพไม่ต่างกันนัก จึงผ่านเลยไปยังเหมืองกะทะทองทีอยู่เลยบ้านบางกันไปไม่ไกลนัก สถานที่ตั้งจะเห็นป้ายเด่นชัด เหมืองกะทะทองเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในหมู่ชาวพังงาแต่คนจากจังหวัดไกล้ๆอย่างภูเก็ตหรือ กระบี่ น้อยคนนักนี่จะรู้จักเหมืองแร่กะทะทองหรือแม้แต่ชื่อ เขากะทะคว่ำ 


                                                                                                     เขากะทะคว่ำ 
           เหมืองแร่กะทะทองเป็นเหมืองที่ใหม่ที่สุดในยุคเหมืองแร่ที่นั่น จากการเป็นพื้นที่ราบล้อมไปด้วยภูเขาที่อุดมไปด้วยป่าไม้มันจึงเป็นแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดพังงา เหมืองกะทะทองจึงถูกออกแบบให้เป็นเหมืองระบบพลังน้ำ (Hydraulic mine system) โดยดัดแปลงระบบมาจากการทำเหมืองทองในอเมริกา  เหมืองกะทะทองยุคแรกดำเนินกิจการโดยบริษัทประมงวิชิตจำกัดที่ชาวบ้านรู้จักในนามเหมืองก๊องเสง(เอกวาณิช)  

    1. ภาพตัวอย่างเหมืองสูบ ใช้ระบบSkid system ของ Stang industrial

          ในช่วงปีหลัง พ.ศ.2530 เกิดภาวะดีบุกราคาตกต่ำที่เริ่มตั้งแต่ช่วงปี2528 เป็นต้นมากิจการทำให้กิจการทำเหมืองโดยทั่วไปเริ่มซบเซาลง เหมืองกะทะทองก็หนีไม่พ้นภาวะการเช่นนี้จึงต้องปิดตัวเองลงในปี 2536  เหมืองกะทะทองตกอยู่ในสภาพของเหมือนร้างอยู่หลายปี ในที่สุด ใน ปี 2540 ที่ดินแปลงนี้ก็ถูกขายเปลี่ยนมือไปเมื่อคุณสมเกียรติ รัตนรังษิวัฒน์ นักธุรกิจท้องถิ่นรุ่นใหม่ได้มองเห็นการไกลถึงอนาคตของที่นี่ จึงได้ขอซื้อที่ดินแปลงนี้จากเจ้าของเดิมแล้วหันมาฟื้นฟูการทำเหมืองแร่ใหม่อีกครั้ง



                                                    ลักษณะของรางเหมืองระบบเหมืองสูบ


         เหมืองกะทะทองยุคใหม่ได้รับอนุญาตให้เปิดกิจการทำเหมืองอีกครั้งในปี พ.ศ.2541แต่เนื่องจากปริมาณน้ำในขณะนั้นไม่อุดมสมสมบูรณ์เหมือนในอดีต จึงได้เปลี่ยนวิธีการเดินเหมืองมาเป็นระบบเหมืองแห้ง (Open cast Mine หรือ Open pit Mine)   เหมืองใหม่ใช้เงินทุนสูงเพราะต้องใช้เครื่องจักรกลหนักมาเปิดผิวดินแล้วนำดินปนสินแร่ข้างล่างมาขึ้นรางแยก กิจการเหมืองได้ดำเนินการมาจนถึงปี พ.ศ. 2545 ก็ต้องหยุดกิจการลงอีกครั้งเพราะสภาวะราคาแร่ดีบุกตกต่ำและพื้นที่ที่เหลือมีความสมบูรณ์แร่ต่ำจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

          เหมืองกะทะทองยุคที่สองได้ซบเซาลงอีกครั้งแต่เจ้าของกิจการยังคงคนงานไว้ดูแลรักษาพื้นที่อย่างต่อเนื่องอยู่หลายปี ต่อมาในปีพ.ศ.2550 บริษัทกระทะทองได้มีโครงการพัฒนาพื้นที่แปลงนี้เป็นพื้นที่เพื่อการเกษตร และยังได้ซื้อที่ดินข้างเคียงเพิ่มเติมอีกกว่า 200 ไร่ แต่กิจการเกษตรไม่ได้ทำผลกำไรเป็นรูปธรรม จนกระทั่งปี พ.ศ.2555 เมื่อธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดข้างเคียงถึงทางตัน นักธุรกิจที่มีสายตาแหลมคมอย่างคุณสมเกียรติก็มองเห็นความบริสุทธิทางด้านธรรมชาติในจังหวัดพังงาที่มีมากกว่าจังหวัดข้างเคียงอย่างภูเก็ต จึงได้มีโครงการสร้างสนามกอล์ฟ และรีสอร์ทขึ้นในพื้นที่เหมืองกะทะทอง 




                                                         พระพุทธรูปและสถานปฏิบัติธรรม ที่กะทะทอง


         บนเนื้อที่กว่า 400 ไร่  การก่อสร้างได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่พ.ศ.2555 การก่อสร้างต้องผจญกับอุปสรรคนานับประการแต่ก็สามารถฟันฝ่าจนงานแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2557 เมื่อทุกอย่างพร้อม การเปิดให้บริการก็ได้เริ่มขึ้น เมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ 2557 ในชื่อสนามกอล์ฟกระทะทอง กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดพังงา

      
    (ขวา) นายสมเกียรติ รัตนรังษีวัฒน์ เจ้าของโครงการ




    น้ำตกเทียม แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของน้ำในอดีต





    ทัศนียภาพของสนามกอล์ฟกะทะทอง


          กระทะทองกอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา เป็นสนามกอล์ฟขนาด18หลุม ตั้งอยู่ที่ 51 หมู่ 4 บ.ทุ่งคาโงก อ.เมือง จ.พังงา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กิโลเมตร ถ้ามาจากภูเก็ตตามเส้นทางถนนเพชรเกษมก็ต้องผ่านตัวเมืองพังงาไปทางถนนสายเก่า ผ่านบ้านสำนักขอน บ้านปริง จนถึงสามแยกนบปริงจากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนหมายเลข 4090 (ทางไปกะปง)ผ่านสามแยกวัดสมัครปลูกฯ(ทางไปสองแพรก) ผ่านบ้านเผล บ้านบางท้อน เมื่อมาถึงบ้านกรุงศรีให้ขับมุ่งหน้าไปอีกไม่ไกล ก่อนจะถึงบ้านบางกันประมาณ 300เมตรก็จะเห็นป้ายขนาดใหญ่อยู่ริมทางเข้าโครงการทางด้านขวามืออย่างชัดเจน.
       





       





       
        



        ..