แพข้ามฟากถูกเรียกเป็นทางการว่าแพขนานยนต์แต่คนพื้นเพภูเก็ตดั้งเดิมเรียกว่าเรือท่านุ่น ส่วนคนในถิ่นที่นี่กลับเรียกว่าเรือเหล็ก ดังนั้นท่าเทียบแพขนานยนต์ก็น่าจะถูกเรียกว่า "ท่าเรือเหล็ก "
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการ
เมื่อมองท่านุ่นจากท่าปากแหว่งก็จะเห็นสภาพของท่านุ่นแปลกไปจากที่เห็นทั่วไป โดยความเห็นส่วนตัวแล้วเห็นว่า ที่เทียบแพฝั่งท่านุ่นทั้งหมดน่าจะเกิดจากการถมดินบนป่าชายเลนมาสร้างท่าเทียบแพขนานยนต์ มีถนนผ่ากลางมาจนถึงท่าเทียบแพ การสร้างท่าเทียบมาขวางกระแสการไหลของน้ำทะเลทำให้เกิดปราการกั้นทราย พื้นดินจากฝั่งขวาของช่องแคบปากถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนโค้งเว้าเข้าไปแล้วพาทรายมาทับถมรอบบริเวณด้านหน้าของท่าเทียบแพจนเกิดเป็นหาดทรายขาวสวยงาม
ภาพหาดทรายขาวฝั่งท่านุ่น ปี 2502 |
จากการบอกเล่าของ ผู้ใหญ่บ้านท่านุ่นคนปัจจุบัน(ผู้ใหญ่สมเกียรติ)เล่าว่าพื้นที่ท่านุ่นในอดีตเป็นหาดทรายทอดยาวลงไปในทะเลทางทิศตะวันออกไปไกลหลายร้อยเมตร แต่จากกการสร้างท่าเทียบแพในยุคนั้นทำให้ชายหาดทางฝั่งซ้ายของท่าเทียบแพถูกกระแสน้ำกัดเซาะหายไปจนเหลือแต่พื้นน้ำจนไม่เหลือร่องรอยของหาดทรายให้เห็นจนปัจจุบัน
หลังจากที่มีการสร้างสะพานสารสินในปี 2510 คอสะพานกลายเป็นปราการกั้้นน้ำทะเลขึ้นมาอีกชั้นอย่างไม่ตั้งใจ ด้วยอิทธิพลของกระแสน้ำที่ถูกขวางจนเกิดการหมุนวนอันสืบเนื่องมาจากการสร้างสะพานสารสินทำให้เกิดประการกีดขวางกระแสน้ำตามธรรมชาติ ขึ้นมาอีกชั้นหนึ่งทำให้หาดทรายอันสวยงามของท่านุ่นตรงช่องแคบปากพระถูกกัดเซาะจนเว้าแหว่งลึกเข้าไปในพื้นดินมากยิ่งขึ้น ประการที่เกิดจากการก่อสร้างสะพานทำให้หาดทรายด้านซ้ายของคอสะพานฝั่งพังงาหายไปจนหมดแต่มีหาดทรายงอกขึ้นมาทับถมบนด้านขวาของคอสะพานทดแทนนับเป็นแผ่นดินงอกที่เป็นผลประยชน์กับเจ้าของที่ดินอย่างมหาศาล
จากจุดแคบสุดที่จะใช้ข้ามฟากตรงฝั่งท่านุ่นมีสภาพอยู่ในแนวป่าชายเลน ทางกรมเจ้าท่าจึงต้องถมที่ป่าชายเลน(เป็นการสันนิษฐานส่วนตัว)เป็นถนนเรียบริมทะเลและสร้างเขื่อนหินกั้นกันการกัดเซาะตลิ่งไปเชื่อมกับท่าข้ามป็นระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ที่ดินถมดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ดินกรรมสิทธิของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ภาพเขื่อนกันการกัดเซาะถนน ฝั่งท่านุน่น |
ฝั่งท่านุ่นในอดีตร่มรื่นอยู่ภายใต้ร่มมะขามที่ปลุกเป็นทิวแถว มีร้านขนมจีนเจ้าอร่อยอยู่3เจ้าด้วยกัน ปลูกติดต่อกันอยู่ด้านซ้ายของถนน แต่ร้านที่ขึ้นชื่อเป็นที่ติดใจของนักเดินทางยุคนั้นคือร้านของคุณยายหม่อย ร้านขนมจีนทุกร้านจะหันหน้ารับลมทะเล รถที่จอดรอแพทางฝั่งท่านุ่นจะจอดด้านขวาของถนน
คุณยายหม่อย เจ้าร้านของขนมจีนที่อร่อยที่สุด ฝั่งท่านุ่น |
แนวถนนที่ตัดไปยังท่าเทียบแพท่านุ่นเป็นถนนราดยางมะตอยบนแนวคันดิน(กว้างประมาณ 150 เมตรโดยประมาณ)บนผืนป่าชายเลน ปลายสุดของถนนทอดยาวไปไปจรดทิศตะวันออกของช่องแคบปากพระติดกับท่าปากแหว่ง ส่วนท่าเทียบแพขนานยนต์จะสร้างตั้งฉากกับแนวถนน ท่าเทียบแพหรือท่าข้ามจะสร้างลงไปในทะเลหันไปทางทิศใต้ในทิศตรงข้ามกับท่าฉัตรชัยฝั่งเกาะภูเก็ต
ภาพเก่า- ท่าฉตรชัย ขณะเหล่าพสกนิกรกำลังรอรับเสด็จ คราพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จภูเก็ตใน ปี 2502 |
การสร้างท่าเทียบแพขนานยนต์
ท่าเทียบแพทางฝั่งท่านุ่น สร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง มีช่องเทียบย่อยจำนวน 5 ช่องเทียบ แพขนานยนต์จะเข้าเทียบท่าตามช่องโดยขึ้นอยู่กับระดับน้ำทะเลขึ้นลง ท่าเทียบแพจะตั้งฉากกับถนนลงท่า รถยนต์ทุกคันที่มาจอดรอแพจะหันด้านคนขับหาชายทะเล แม้ถนนจะค่อนข้างแคบแต่ก็พอให้รถสามารถแล่นสวนกันได้สบาย เมื่อรถคันสุดท้ายขึ้นพ้นจากแพ รถรอลงแพที่จอดรอบนถนนคิวแรกก็จะเริ่มสตาร์ทเครื่องค่อยๆเคลื่อนรถลงแพตามลำดับก่อนหลังตามสัญญาณมือของเจ้าหน้าที่ประจำแพขนานยนต์
การออกแบบสร้างช่องจอดเเพให้หันไปทางทิศตะวันออก ตรงข้ามกับช่องน้ำตรงช่องปากพระทั้งฝั่งท่านุ่นและท่าฉัตรชัยเป็นความชาญฉลาดของผู้ออกแบบ เมื่อกระแสน้ำพัดทรายมาจากบริเวณปากพระจากทั้งสองฝั่งมาชนด้านหลังของท่าเทียบ(ทำให้ช่องเทียบแพไม่ถูกทรายถม) ท่าเทียบแพทั้งสองฝั่งกลายเป็นกำแพงกั้นทรายมากองรวมกันตรงด้านหลังของท่าจนเป็นเกิดชายหาดที่สวยงามไปทั้งสองฝั่ง