จากความคิดที่ว่าความล่าช้าในการข้ามฟากเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจในระยะยาว แนวคิดการสร้างทางข้ามเกาะจึงเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนที่จะมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่1 ดังนั้นความคิดที่จะเชื่อมเกาะภูเก็ตเข้ากับแผ่นดินใหญ่จึงเป็นความคิดก้าวหน้าของคนในพ.ศ.นั้น
ความเจริญทางเศรษฐกิจในยุคนั้น ส่วนหนึ่งมีรายได้มาจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่จากฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณ จังหวัดภูเก็ต พังงาและจังหวัดระนอง การผลิตแร่ดีบุกทำให้เศรษฐกิจในท้องถิ่นที่นี่ดีเป็นอันดับต้นๆของประเทศ มีผู้คนมากมากเข้ามาทำมาค้าขายที่นี่การสัญจรไปมาก็เริ่มเป็นอุปสรรคจากจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว ความแออัดล่าช้าในการข้ามฟากจึงเกิดขึ้น
ความต้องการสะพานข้ามเกาะจึงถูกมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการแก้ปัญหา แนวคิดการถมถมทะเลเชื่อมเกาะภูเก็ตกับแผ่นดินใหญ่แห่งแรกของประเทศกลายเป็นความจำเป็นเร่งด่วน มันจึงถูกบรรจุลงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่1
โครงถมทะเลเริ่มดำเนินการในปี 2494 โดยบริษัทรับเหมาสัญชาติญี่ปุ่นบริษัทหนึ่ง(ไม่ปรากฏชื่อ)เข้ามารับเหมาดำเนินการก่อสร้าง โดยใช้หินแกรนิตมาถมเชื่อมต่อตัวเกาะภูเก็ตกับแผ่นดินใหญ่ ออกมาจากทั้งสองฝั่งให้มาบรรจบกันกลางทะเล วัสดุหินแกรนิตฝั่งพังงามาจากไหนไม่ปรากฏแต่ทางฝั่งภูเก็ตหินทุกก้อนมาจากการระเบิดภูเขาที่บ้านคอเอนซึ่งห่างจากท่าฉัตรชัยประมาณ5กิโลเมตร
การก่อสร้างประสพปัญหาเนื่องจากการะแสน้ำเชี่ยวตอนขึ้นและลงได้พัดพาก้อนหินช่วงตอนกลางช่องแคบหลุดไปกับกระแสน้ำในทะเล หลังจากการถมหินลงไปแล้วประมาณด้านละ200เมตร บริษัทผู้รับเหมาได้ประสพภาวะขาดทุนเนื่องจากไม่สามารถสร้างแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างจนต้องละทิ้งงานและทิ้งเครื่องจักรไว้ที่ไซส์งานเป็นจำนวนมาก
การก่อสร้างยุคใหม่
การก่อสร้างได้่เริ่มต้นอีกครั้งในสมัยนายพจน์ สารสินเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ โดยได้ว่าจ้างบริษัท Cristiani &Nelson(Thailand) Ltd.มาสานต่อโครงการณ์ในส่วนที่เหลืออีก330เมตรกลางทะเล
ด้วยหลักวิศวกรรมสมัยใหม่ มีการสร้างตอหม้อสะพานในทะเลแบบตอหมอเดี่ยวรองรับคานสะพาน บนช่องจราจรแค่สอง ระดับคานสะพานสูงกว่าระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดไม่มากนัก การก่อสร้างได้ดำเนินไปด้วยความราบรื่นท่ามกลางข่าวลือต่างๆนานาแต่ก็แล้วเสร็จภายในเวลากำหนดจนเปิดใช้งานเป็นทางการได้ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2510 โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 28,770.00 บาทรวมระยะก่อสร้างทั้งสิ้น 13 ปี แพขนานยนต์ก็ตกยุคตั้งแต่บัดนั้นพร้อมๆกับกฏของการลงแพก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
สะพานแล้วเสร็จ ยุคแพก็สิ้นสุด
กฏง่ายๆของการลงแพ
รถคันไหนเครื่องยนต์เกิดขัดข้องระหว่างการลงแพ รถคันนั้นจะถูกตัดสิทธิ์การลงแพไปโดยปริยาย รถคันหลังจะลัดคิวลงแพแทนทันที รถลงแพได้จำนวนจำกัดตามขนาดและน้ำหนักของรถที่เจ้าหน้าที่บนแพจพชะเป็นผู้กำหนด เมื่อรถคนสุดท้ายลงจนเต็มแพแล้ว รถที่ลงแพไม่ได้ก็ต้องรอแพเที่ยวหน้า
สะพานท้าวเทพกระษัตตรีถ่ายจากถนนฝั่งท่านุ่น |
เมื่อมีสะพานมาแทนแพ
ท่าเทียบแพเก่าถูกปล่อยร้าง ซัลเฟตจากน้ำทะเลกัดเซาะจนเสื่อมสภาพและเป็นที่เกาะของเพรียงทะเล มีสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีระเบียบโดยรอบท่ามาบดบังความสวยงาน
หากลองจินตนการเอาสิ่งก่อสร้างขยะรอบๆท่าออกไป จะห็นความสวยงามผุดขึ้นมาในความนึกคิดถึงสีสันของการข้ามฟากในสมัยก่อนขึ้นมาในจินตนาการ นึกถึงภาพน้ำทะเลกระเพื่อมตอนแพเข้าใกล้ฝั่ง เสียงหวูดแพดังเตือนให้รถที่รอแฟอยู่บนฝั่งเตรียมตัวเพื่อการลงแพ
การที่สะพานสารสินถูกสร้างต่อจากโครงสร้างงานเก่า คอสะพานจึงเป็นเป็นแนวกันทรายขึ้นมาโดยปริยาย เกิดหาดทรายที่งอกใหม่ตรงคอสะพาน ส่วนหาดทรายเก่าบนฝั่งทั้งท่านุ่นถูกกระแสน้ำซัดหายไปสู่ธรรมชาติอีกครั้ง
สภาพท่าเทียบแพ ท่านุ่นตอนน้ำขึ้น ปัจจุบัน |
ธรรมชาติเป็นทรัพยากรที่มีค่า การใช้ประโยชน์จากที่ดินแค่เป็นอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียวไม่คุ้มกับคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของฝั่งทะเลอันดามัน
ก่อนที่ความทรงจำของคนรุ่นเก่าจะถูกเพิกเฉยและหายไปโดยไม่มีการบันทึกเรื่องราว นอกจากคำบอกเล่าจากความทรงจำของคนรุ่นเก่าที่พากันล้มหายตายจากไปทีละคน สมควรที่หน่วยงานท้องถิ่นจะจัดรวบรวมเรื่องราวและเหตุการณ์ในอดีตเป็นกรณีย์ศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นและจัดให้มีการดูแลรักษาของเก่าให้คงสภาพธรรมชาติไว้
การทบทวนวางแผนอนุรักษ์และปลุกจิตสำนึกให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาที่มาที่ไปของท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็น ท่านุ่นคือสถานที่ที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของชายฝั่งทะเลอันดามัน เป็นทรัพย์ทางจิตใจของคนทั้งสองฝั่ง แม้แพจะจากไป และท่าเทียบแพจะร้าง แต่ความทรงจำก็ยังคงอยู่กับคนทั้งจากฝั่งท่านุ่นของพังงาและฝั่งท่าฉัตรชัยของภูเก็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น