วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

เล่าเรื่อง.......บุกตะวันตก Go West



GO WEST บุกตะวันตก

     ในยุคต้น ปี ค.ศ. 1800 แผ่นดินฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา เริ่มคับคั่งไปดวยผู้คน จำนวนที่ดินมีไม่เพียงพอกับจำนวนผู้คนที่ขยายตัวอย่างรวดอเร็ว ด้วยทรัพยากรที่จำกัด วิถีชีวิตที่ซับซ้อนขึ้น ทำให้ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ที่มีอาชีพทำกสิกรรมและเลี้ยงสัตว์ เริ่มมีปัญหา เมื่อบ้านเมืองเริ่มขยายใหญ่ขึ้น ที่ดินที่มีอยู่ล้วนแต่มีเจ้าของครอบครองและใช้ประโยชน์แล้วทั้งสิ้น อเมริกาฝั่งตะวันออกไม่ได้เป็นที่กว้างใหญ่ไพศาลสำหรับทุกคนอีกต่อไปแล้ว คนยากจนหมดทางเลือกจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้ไปอย่างหนัก




    จากกิตติศัพท์ของดินแดนโอเรกอน(Oregon Territory) อันเป็นพื้นที่กว้างใหญ่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ ที่ดินทำกสิกรรม และมีน้ำอุดมสมบูรณ์ ที่ยังไม่ถูกบุกเบิกด้วยน้ำมือมนุษย์

    คนด้อยโอกาสทางฝั่งตะวันออก เริ่มอพยบเคลื่อนย้ายอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไปยังดินแดนโอเกอนนี้ ซึ่งทุกวันนี้ เราเรียกผู้คนเหล่านี้ว่าว่า ผู้บุกเบิก(Pioneer)

    กลุ่มผู้บุกเบิกต่างก็มุ่งไปตะวันตกด้วยเหตุผลนานาประการ หลายคนไปเพื่อหวังจะมีชีวิตที่ดีกว่าเดิม บางคนหวังจะได้ที่ดินราคาถูก บางคนก็คิดว่า จะไปร่ำรวยที่นั่น บ้างก็ไปเพราะการรักผจญภัย หลายคนต้องการไปในที่ที่มีคนอยู่ไม่มาก
    
    แต่การไปดินแดนโอเรกอน ไม่ใช่เรื่องง่าย มันหมายถึงต้องจากครอบครัว บ้าน เพื่อนฝูง บางครั้งมันหมายถึงการจากไปยมม้ายังมีผ้าใบแบบไม่มีวันกลับ ที่นั่น ไม่มีหมอ ไม่มีร้านค้า หรือแม้แต่สะพานข้ามแม่น้ำ มันคือการเดินทางที่อันตรายบนความยาวนานเป็นเวลาหลายเดือน 


    เส้นทางสาย โอเรกอน(The Oregon Trail)

  ในช่วงปี1840 ผู้คนที่มุ่งไปโอเรกอน จะไปตามเส้นทางสายโอเรกอน หรือที่เรียกกันว่า Oregon Trail ซึ่งเป็นเส้นทางเกวียนแบหยาบๆ มีจุดเริ่มต้นที่เมือง Independence เมืองหน้าด้านฝั่งตะวันออกของรัฐ Missouri มุ่งตรงไปยัง หุบเขาWillamette ซึ่งต่อมาคือรัฐ Oregonในปัจจุบัน




แผนที่เส้นทางโอเกอน ยุคปี 1932


     การไปยังโอเรกอนสามารถทำได้หลายทาง ไม่ว่าจะเดินไป นั่งบนหลังม้าไป หรือจะไปด้วยเกวียนหรือรถเทียมม้า(Wagon) หลายคนเดินทางกันเป็นครอบครัวด้วยรถเทียมม้าที่มีล้อสูงที่เหมาะจะข้ามแม่น้ำหรือแล่นบนพื้นที่ลุ่มและทุ่งหญ้าที่มีน้ำขัง นอกจากนี้รถเทียมม้ายังมีผ้าใบที่สามารถบังแสงแดด กันลมและฝนให้กับผู้บุกเบิกและสิ่งของที่นำติดตัวไป




การเดินทางทั้งครอบครัวด้วยรถเทียมม้า แบบไปตายเอาดาบหน้า


    ที่เมือง Independence ผู้บุกเบิกต่างรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่เรียกว่า ขบวนคาราวาน(Wagon Train) ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่ปลอดภัยที่สุดในการเดินทาง เพราะการเดินทางเดี่ยวๆจะอันตรายมาก นักเดินทางต่างต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรในการเดินทางของกันและกัน ซึ่งการเดินทางเป็นกลุ่มใหญ่แบบกองคาราวานสามารถตอบโจทย์ได้ดีที่สุด




ต้องฝ่าทั้งภูเขาสูงและทุ่งหญ่้าดินเป็นหล่มและเปียกชื่น


     การเดินทางจากMissouri ถึง Oregon กินระยะเวลานานถึง 5 เดือน เป็นเส้นทางที่ต้องผ่านทั้งภูเขาสูงและที่ราบทุ่งหญ้า แต่ในที่สุดผู้บุกเบิกก็สามารถไปถึงที่ดินแดนอันกว้างใหญ่เหมาะแก่การทำกสิกรรม ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำและป่าไม้

     ด้วยโอกาสในการได้เป็นเจ้าของที่ดินอันอุดมสมบูรณ์ เป็นมูลเหตุจูงใจสำคัญให้ผู้บุกเบิกพากันออกเดินทางเพื่อแสวงหาสิ่งที่ดีกว่า ที่ดินแปลงใหญ่ถูกจัดสรรให้กับผู้อพยพที่ไปยังโอเรกอน ในขณะนั้น โอเรกอนคือที่เดียวในประเทศสหัฐอเมริกาที่รัฐบาลสัญญาว่าจะจัดสรรที่ดินฟรีให้แก่ทุกคนที่อพยพไป




การเดินทางเป็นกองคาราวาน หรือWagon train

   ทางเลือกที่เปลี่ยนไป:

     ในช่วง ปี1850 เส้นทางเดินรถเทียมม้า(Stagecoach)ได้เปิดให้บริการ ผู้คนสามารถเดินทางจาก โอมาฮา เนบราสก้า ไปยังซานฟรานซิสโก รัฐคาลิฟอร์เนียในระยะเวลาแค่ 3 สัปดาห์ และในปี 1869 การสร้างทางรถไฟข้ามประเทศสายแรกได้แล้วเสร็จลง ทำให้การเดินทางข้ามฝั่งจากนิวยอร์คถึงซานฟรานซิสโก ถูกย่นเวลาจากหลายเดือนลงเหลือเพียง 7 วัน..ความกันดารที่หมดไป..ทำให้ อเมริกาแคบลงถนัดตา



   
      Credit: Social Studies /Scott, Foresman and company





วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

ใครไม่เคยป่วย เชิญทางนี้หน่อย

   
20/3/2015

 กฏข้อเดียว อย่าประมาท กับ ความเจ็บป่วย

       แม้คุณจะคิดว่าตัวเองแข็งแรง แต่เชื่อเถอะ วันหนึ่ง ความเจ็บป่วยจะแวะมาเยี่ยมคุณโดยไม่บอกกล่าว นอกจากคุณจะได้เชิญให้มันมาแล้ว มันยังดื้อด้านไม่รอคำเชิญของคุณเสียด้วย

   สำหรับผม ก็เริ่มรู้จักนายป่วยอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกในชีวิต เมื่อ เกือบ 3 เดือนที่แล้ว  อาการที่เป็นมาทำให้ผมต้องหันมาทบทวนกระบวนการดำเนินชีวิตกันใหม่ทั้งหมด จากการออกกำลังกายที่ไม่มีแบบแผน การกินที่ไม่คำนึงถึงคุณภาพ การไม่ควบคุมอารมณ์และสติ พาให้กระบวนการดำรงชีวิตผิดเพี้ยนไปหมด

   ผมกำลังเป็นโรคยอดฮิตที่ค่อนข้างจะรุนแรง ซึ่งโดยทั่วไป โรคที่เรารู้จักในปัจจุบันมักไม่หนีไปจาก

      โรคความดันโลหิตสูง
      เบาหวาน
      โรคประสาท
      โรคกรดไหลย้อน(GERD-โรคยอดฮิต)
      มะเร็ง
      โรคจิตเภท

     โรคชุดแรกที่เป็นกันมากได้แก่โรคความดันโลหิตสูงซึ่งคนส่วนใหญ่วัยทำงาน(นั่งโต๊ะ)เป็นกันเป็นส่วนใหญ่ ตัวผมเอง แม้จะออกกำลังกายมาตลอดแต่จะเต็มไปด้วยความเครียด ผมจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงโรคนี้ไปได้ ผมต้องกินยาควบคุมความดันลอดชีวิต   ส่วนโรคเบาหวานที่สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธ์ อันนี้ผมก็ยังอยู่ในเกณฑ์ปรกติและกำลังเจรจาต่อรองให้มันอยู่ห่างผมไว้ และอยู่ในความระมัดระวังตลอดเวลา การเป็นความดันโลหิตสูง ก็จะเป็นที่มาของ โรคเบาหวาน ผมก็ได้แต่ประวิงเวลาให้มันเข้ามาหาผมให้ช้าที่สุด

  ส่วนโรคประสาท ผมยอมรับเป็นมานานแล้วว่าเป็น(มากเสียด้วย) ไม่ขอปฏิเสธแต่กำลัง ระวังตัวเอง ไม่ให้ข้ามขั้นไปเป็นโรคจิตเภทก็เท่านั้น


    กรดไหลย้อน (โรคกระจอกยอดฮิต )

    ผมเคยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2555 แต่เป็นอาการแค่เด็กๆ คือ อาการปวดแสบในทรวงอก กลืนอาหารลำบาก แน่นท้อง ใช้เวลารักษาไม่เกิน 2 สัปดาห์ อาการก็ดีขึ้น ที่ผมเรียกเป็นโรคกระจอกก็เพราะ เป็นแค่โรครำคาญใครๆก็ชอบอ้างว่าเป็น รักษาง่าย เป็นแล้ว(นึกเอาเองว่าโก้หรูใครไม่เป็นก็เชยแหลก) ผมก็เช่นกัน เจ้าโรคกระจอกนี้ ได้หายไปจากชีวิตผมอย่างง่ายๆ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว

  ด้วยกิจวัตรที่เร่งรีบ การกินอาหารไม่เป็นเวลา ประจวบกับระยะหลัง สุขภาพของผมอ่อนแอลงไปมาก ไม่ได้ออกกำลังกายติดต่อกันร่วม 3 ปี สุขภาพแย่ลง ป่วยบ่อยและใช้เวลารักษานานขึ้น ผมจึงต้องเจียมตัวหันมาออกกำลังกายโดยการขี่จักรยานสัปดาห์ละ 2 วัน ตามเวาลาที่อำนวย(เสาร์อาทิตย์)

  ต้องตื่นประมาณตีห้า(ยังง่วงแต่ปลุกตัวเองด้วยการอาบน้ำ) ไปขี่จักรยานด้วยความทรมาน(ไม่สดชื่น) หลังจากใช้เวลา ปั่นจักรยาน ประมาณ ชั่วโมงครึ่ง ผมกินอาหารหนักทันที(หิวมากหลังจากปั่นมาเกินกว่า 30 กิโลเมตร ) เมื่อกินอาหารเช้าเสร็จ สักพักก็เอนหลังด้วยความง่วงและเหนื่อย

   ผมปฏิบัติตัวเช่นนี้มาได้ร่วม 3 เดือน จนกระทั่งปลายเดือน ธันวาคม 2557 อาการหวัดแปลกๆก็มาเยือนผม มีอาการไอแห้งไม่มีเสมหะไอตลอดเวลา ตอนแรกก็คิดว่าเป็นหวัดธรรมดา ซึ่งอาการเหล่านี้ควรจะหายไปเองภายในสัปดาห์ แต่ครั้งนี้มันไม่ยอมจากไปง่ายๆ มีแต่อาการจะหนักขึ้นเรื่อยๆ

   ผมสังเกตุดูแล้วระหว่างการออกกำลังกาย (ไม่ว่าโดยวิธิไหน) อาการไอของผมจะทุเลาลง โดยเฉพาะในวันที่ 26 ธันวาคม 2557 บริษัทที่ผมทำงานอยู่ได้จัดงานฉลองปีใหม่ให้พนักงาน ผมไปร่วมงานด้วย แต่ผมก็ไอหนักจนน่ารังเกียจ ผมเกรงไปว่า อาการไอจะสร้างความรำคาญ(กลัวโรคติดต่อ)ให้เพื่อนร่วมงาน ผมจึงนั่งห่างๆไม่ปะปนกับใคร แต่พอนึกขึ้นได้ว่า อาการไอของผมจะทุเลา เมื่อผมออกกำลังกาย

    ดังนั้นผมจึงลองออกไปยืดเส้นยืดสาย(ดิ้นแบบสมัยหนุ่มๆ)กับเพื่อนร่วมงานรุ่นลูก(ดูเป็นที่ขบขัน ต่างก็เตรียมยาดมเผื่อว่าผมจะเป็นลมกลางวง) แปลกแต่จริง เมื่อเหงื่อเริ่มออก ผมหายไอและหายใจคล่องขึ้นมาทันที  ผมจึงต้องเต้นเป็นการทดแทนออกกำลังกายจนงานเลิก คืนนั้นผมหลับสบายแต่ก็มีไอเป็นระยะตลอดทั้งคืน

     ก่อนสิ้นปี ผมนั้งรถเข้ากรุงเทพ ระหว่างการเดินทาง ผมไอตลอด สร้างความรังเกียจให้กับเพื่อนร่วมทางเป็นอย่างยิ่ง ผมมาถึงกรุงเทพอย่างทุลักทุเล เหนื่อยและเพลียจากการไม่ได้นอนทั้งคืน

      ผมยังไม่รู้ตัวว่าผมจะเจ็บป่วย จึงไปซื้อยามากิน แต่อาการไอก็ไม่ทุเลา ว่าจะลองแวะหาหมอตามคลีนิค แต่ก็ละเลยเมื่อเห็นแต่ละคลีนิคเต็มไปด้วยคนป่วยรับปีใหม่ ไปกรุงเทพฯครั้งนี่ไม่สนุกเลย เพราะทั้งเหนื่อยทั้งเพลีย

      นึกไม่ถึงว่า การไปกรุงเทพฯครั้งนี้จะเป็นการตอกย้ำว่า ผมกำลังป่วยมากกว่าที่เคยคิด หลังจากกลับจากกรุงเทพฯ ผมต้องไปๆมาๆ ที่โรงพยาบาลร่วม 2 เดือน 

   อาการป่วยเริ่มส่อเค้าเรื้อรังไม่บรรเทา จนแพทย์ที่ให้การรักษาตัดสินใจตรวจด้วยรังสี(พร้อมกลืนแป้ง) ผลการวินิฉัย รุนแรงกว่าที่คิด แพทย์ตัดสินใจส่งตัวผมไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา 

    เมื่อมาพบแพทย์ที่โรงพยบาลสงขลานครินทร์ผลการวินิจฉัยที่โรงพยาบาลเก่า แทบไม่มีความหมายต่อการวินิจฉัยที่โรงพยบาลสงขลานครินท์  ต้องเข้ารับการตรวจส่องกล้องดูเนื้องอกในกะเพาะอาหารและหลอดอาหารส่วนต้น เพื่อตัดสาเหตุที่ ไม่ใช่ ออกไป และต้องตรวจหาความผิดปรกติของปอด 

     จากการที่ผมถูกสันนิษฐานว่า มีอาการ early pneumonitis หรือปอดอักเสบระยะเริ่มต้น(จากโรงพยบาลแรก) ซึ่ง สาเหตุของโรคนี้ น่าจะมาจากการสำลักกรดที่ทะลักขึ้นมาที่หลอดลมแล้วสำลักเข้าไปในปอด 
     อาการผมแย่มาก หายใจไม่ออกบ่อยๆ จนอดนึกถึงความตายขึ้นไม่ได้

Causes of pneumonitis include: สาเหตุของปอดอักเสพ 
  • Pneumonia. การเป็นนิวโมเนีย หรือปอดบวม
  • Inhalation of foreign matter, usually of stomach contents when vomiting (aspiration pneumonitis).
  • Pertussis. ไอกรน
  • Exposure to an inhaled allergen (hypersensitivity pneumonitis), eg humidifier lung,farmer's lung, bird fancier's lung.
  • Systemic lupus erythematosus.
  • Adverse reaction to a drug or toxic chemical; many household and industrial chemicals can cause acute and chronic pneumonitis:
    • Exposure to dangerous levels of chlorine gas may occur at home when using cleaning materials, in industrial accidents or when near to swimming pools.
    • Inhalation of dangerous substances can occur during smelting, welding or other metalwork, in the production or use of solvents or pesticides, fires and when handling grain.
    • Medication: a variety of medications can cause interstitial pneumonitis, eg interferon therapy, amiodarone, nitrofurantoin.
  • Radiation therapy.[1]
  • Sepsis: the body's inflammatory response to infection.
  • Any other cause of acute, subacute or chronic respiratory distress or cough - for example:
   credit: http://www.patient.co.uk/doctor/Pneumonitis.htm

    CT  Scan  คือแนวทางพิสูจน์หาข้อบ่งชี้ เพื่อตัดเงื่อนไขของมะเร็งให้มันหายสงสัยและออกไปจากสมองไปเลย โดยผมต้องยอมเสี่ยงกับอันตรายจากความเข้มของรังสีที่เพิ่มจากX RAY ปรกติถึง 1000 เท่า

    เอาไงก็เอากัน ให้มันรู้แล้วรู้รอดให้หายสงสัยไปเลย ดีกว่ามานั่งทรมานและเครียดกับอาการเจ็บป่วยไปวันๆ



คุยกันหน่อย..เมื่อ...GERD ค่อยทุเลาลงแล้ว

     


    หลังจากทรมานจากการเป็นโรคกรดไหลย้อนมาร่วม 3เดือน ได้วกเวียนไปโรงพยาบาล ทั้งทีภูเก็ตและ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เกือบ 10 ครั้ง ต่อนี้ไปจะต้องปฏิบัติตัวเองให้พ้นเงื้อมมือGERDให้ได้ เชื่อกันว่า GERD หรือโรคกรดไหลย้อนไม่มีวันตีจากจากคนที่เคยเป็น เจ้าตัวจะต้องเปลี่ยนพฤกติกรรมเก่าๆทั้งหมด เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับมันอย่างสันติ

 ข้อปฏิบัติ 

     1 กินยากลุ่ม PPI หรือ โปรตอนปัมป์ ก่อนอาหารเช้า-เย็น เป็นเวลาร่วม 2 เดือน ควบคู่กับยาแก้ท้องอืด(ก่อนอาหาร 3 มื้อ)
     2 กินอาหารมื้อสุดท้ายของวัน ก่อน 18:30 และเข้านอนหลังจากกินอาหารเย็น 4 ชั่วโมงไปแล้ว
     3 เลิกดื่มเครื่องดื่มที่มีแก๊สทุกชนิด รวมทั้งชา กาแฟ สุรา หรือเบียร์
     4 หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดทุกชนิด
     5 แก้นิสัยโกรธง่ายหายเร็ว หลีกเลี่ยงความเครียดทุกชนิด
     6 ออกกำลังกายบ้างก็ดี

 เท่านี้ท่านก็จะผูกมิตรกับGERDได้โดยไม่กลับมารบกวนท่านอีก

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

การทำ CT สแกน

   การทำCT สแกน เป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่มีราคาแพง สามารถตรวจหารสาเหตุของพยาธิสภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ
 ข้อดี
1 ทำได้ง่ายสะดวก
2 การแสดงภาพ มีมิติชัดแจน
3 ไม่เจ็บปวด
4 ใช้เวลาน้อย

 ข้อเสีย
1 ค่าใช้จ่ายสูง
2 ต้องฉีดสารทึบแสงเข้าในร่างกาย
3 ได้รับรังสีมากกว่าการฉ่ายรังสีปกติ ประมาณ 10 เท่า

การอ่านผล กระทำโดยผู้เช่ยวชาญ


CT scan ต่างกับ MRI อย่างไร
ประโยชน์ของการทำ MRI ที่เหนือกว่าการฉีดสี มีมากมายดังต่อไปนี้
ไม่เจ็บ(จากการใช้เข็มแทงเข้าไขสันหลัง)
ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ให้รายละเอียดภายในกระดูกสันหลังได้ดีกว่า อาทิเช่น หมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งการฉ๊ดสีมองไม่เห็น
ไม่เสี่ยงต่อการแพ้สี(contrast media)
มีอุบัติการณ์ของการเกิดการวินิจฉัยผิดพลาด น้อยกว่าการฉีดสี
ไม่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหา น้ำไขสันหลังรั่ว หลังการแทงเข็ม
ข่วยวินิจฉัยโรคอื่นๆได้ด้วย เช่น มะเร็งที่แพร่กระจายมา ฝีที่กล้ามเนื้อข้างๆกระดูกสันหลัง

ข้อดีของการฉีดสีที่มีเหนือต่อการทำ MRI มีดังต่อไปนี้
อุปกรณ์ในการฉีดสีหาง่าย ราคาไม่แพง ใช้เอกซ์เรย์ธรรม***็พอ
ค่าใช้จ่ายโดยรวม ประหยัดกว่าการทำ MRI
สามารถทำได้ ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่โลหะประเภท stainless steel ไว้ที่หลัง และต้องการทำซ้ำ

http://haamor.com/th/%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%99/   
ภาพจาก  http://www.vcharkarn.com/uploads/sites/6/2013/08/CT.jpg
 ct scan

ในขณะที่ผู้ป่วยที่ใช้เครื่อง CT scan ได้รับความสะดวก รวดเร็วในการวินิจฉัย พร้อมกับความแม่นยำที่เพิ่มมากขึ้น กลับกันนักวิจัยจำนวนมากกลับมีความกังวลจากการใช้งาน CT scan ว่าจะไปเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ใช้เครื่องเหล่านี้มีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น เพราะจากการทำ CT scan หนึ่งครั้ง มีค่าเท่ากับการไปเอ็กซ์เรย์แบบปกติ 150 - 1,100 ครั้ง การรับรังสีอาจส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีนที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งได้ รังสีที่ได้รับจากการทำ CT scan 1 ครั้งมีปริมาณเทียบเท่ากับการได้รับรังสีจากในธรรมชาติและจากแหล่งอื่นๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น 1 ปีเลยทีเดียวhttp://www.vcharkarn.com/varticle/57193


ตารางเปรียบเทียบการตรวจด้วยเครื่องมือทางรังสีวิทยา

บริเวณที่จะตรวจx-rayการฉีดสี(angio)UltrasoundCT scanMRI
 สมอง ไม่ได้ไม่ได้ได้เฉพาะเด็กทารกดีดีมาก
 กระดูกสันหลังได้ไม่ได้ไม่ได้ดีดีมาก
 ปอด ได้ไม่ได้ไม่ได้ดีมากดีมาก
 ช่องท้องได้ไม่ได้ได้เฉพาะจุดดีมากดีมาก
 กระดูกข้อและเอ็นได้ไม่ได้ได้ได้ดีมาก
 เส้นเลือดในสมองไม่ได้ดีมากไม่ได้ได้ดีมาก
 เส้นเลือดใหญ่ไม่ได้ดีมากได้ได้ดี
 หัวใจบอกได้เฉพาะขนาดดีมากดีมากได้ดีมาก
 ลำไส้และกระเพาะอาหารได้ด้วยการกลืนแป้งไม่ได้ไม่ได้ได้ไม่ได้
 โพรงจมูกได้ไม่ได้ไม่ได้ดีมากดีมาก
 ตาและเส้นประสาทไม่ได้ไม่ได้ไม่ได้ได้ดีมาก
 http://www.mrithailand.com/index.php?modules=article&parent_id=3&id=38


http://www.cccthai.org/l-th/index.php/2009-06-13-08-51-38/2010-05-26-10-33-39/686--pet-ct.html


การทำ CT Scan ที่โรงพยาบาลสงขลานคริทร์


              ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง
      ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
      ลาภ ทรัพย์และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง
      ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์

     พระราชดำรัส สมเด็จพระมหิดลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก
(สมเด็จเจ้าฟ้า มหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินท์ พระบิดาแห่งแพทย์แผนใหม่)


โปสเตอร์ สดุดี สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงสงขลานครินทร์ ที่หน้าห้อง CT Scan


ป้ายชื่อบอกสถานที่ ยืนทะมึนน่าเกรงขาม
เครื่อง CT ถ่ายจากของจริง.
อาคารสวยตรงข้ามตึก CT

ที่นั่งพักใต้ร่มไม้ ระหว่างรอพบแพทย์ ก็สูดแก๊สมะเร็งไปพลาง

ใครไม่อยากมานั่งคอยหมอที่นี่ ให้หมั่นออกกำลังกายเข้าไว้

ช่วงเช้ามีคนมารอตั้งแต่เช้ามืด

ที่ทำการเจ้าหน้าที่ ห้องCT Scan มีคนป่วยมารอยู่แล้ว

เจ้าหน้าที่ทำการสอดใส่เข็มเข้าเส้นเลือดดำ เพื่อฉีดสารทึบรังสี


เตรียมพร้อมเพื่อการฉีดสารทึบรังสี ต้องอยู่ในสภาพนี้


เด็กหนุ่มอายุ29(ณุ) มาทำCT อีกครั้งหลังรับการรักษามะเร็งลำใส้-ต่อมน้ำเหลือง
    อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะทำ CTหรือ MRI ผลที่ได้ก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย มันแค่ได้ตอบปัญหาว่า ได้พบตัวผู้ร้ายที่เปิดเผยตัวหรือไม่เท่านั้น ส่วนเจ้าตัวที่ซ่อนอยู่(อาการก่อนเกิดมะเร็ง)แม้จะตรวจหาตัวบ่งชี้ไม่พบ ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ตัวคุณจะไม่เป็นมะเร็ง ทุกคนต้องพึ่งตัวเอง มะเร็งเป็นโรคร้ายแรงที่ไม่ร้าย ถ้าร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตดีและคุณรู้เร็ว ..ผมก็เช่นกัน..ที่เชื่อเช่นนี้.

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น

    การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เป็นการตรวจหาสาเหตุ ที่มีประสิทธิภาพที่สุด (รายละเอียดดูได้จาก ลิงค์ด้านล่าง)

    จากประสพการจริง ในการเข้ารับการตรวจด้วยการส่องกล้อง เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2558

    มาถึงฝ่ายอายุรกรรมโรงพยาบางสงขลานครินทร์ตามเวลา(เช้ากว่า)ปกติ ด้วยระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ทำให้ความรู้สึกที่(เคย)ไม่ดีต่อการบริการของโรงพยาบาลของรัฐฯหายไปเกือบหมด

   หลังจากได้ยื่นเอกสารรับรองค่าใช้จ่ายประกันสังคมแล้ว(เป็นขั้นตอนพิเศษของระบบประกันสังคม-เยี่ยมจริงๆ) ก็ไปติดต่อที่แผนกระบบทางเดินอาหารชั้น 11 ของอาคาร 13 ชั้น (ตึกเฉลิมพระบารมี - ฉบ.) 

   อุตส่ห์มาเร็วกว่าที่นัดหมาย มาถึงเป้นรายแรก เจ้าหน้าที่ยังไม่ทำงาน แต่มีคิวคนไข้คิวก่อนหน้าอยู่หลายคน ได้รอคิวการตรวจจนเวลา 11.00(ถูกจัดลำดับตามใบนัด) ถึงได้รับการตรวจเกือบเป็นคนสุดท้ายแต่ก็ได้รับการตรวจล่าช้ากว่าเวลานัดประมาณ ครึ่งชั่วโมง

   ก่อนจะมารับการตรวจ อยากให้เตรียมตัวให้พร้อม(รวมถึงเตรียมสภาพจิตใจด้วย)ดังต่อไปนี้

     ขั้นตอนเตรียมตัว
1 งดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง(มักจะสั่งให้งดหลังเที่ยงคืน)
2 มาตามนัดและตรงเวลาเสมอ (เพราะถ้ามาช้าอาจจะโดนข้ามคิว)
3 เตรียมใจมาให้พร้อมไม่ต้องกลัว และอย่าเครียด

    สิ่งที่จะต้องมีความเชื่อมั่น

1 เชื่อมั่นในตัวแพทย์ แพทย์ที่ทำหน้าการตรวจส่องกล้อง เก่งและมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

2 เชื่อมั่นในเทคโนโลยี คิดเสมอว่า การส่องกล้องเป็นสิ่งที่ปฏิบัติมานาน เชื่อถือได้และปลอดภัย

3 ต้องเชื่อมั่นในตัวเอง ว่า การส่องกล้องเป็นสิ่งที่คนทั่วไปทำได้ เราก็ต้องทำได้
4 เชื่อถือผู้เล่า เรื่องนี้ ว่า จริงๆแล้วไม่เจ็บปวดในขณะทำ(รับรองได้เพราะเพิ่งไปทำมา)และยังใช้เวลาระยะสั้นๆเท่านั้นเอง

   ขั้นตอน
1การให้ยาชาเฉพาะที่ (พ่นยาที่คอ)
      1.1 เจ้าหน้าที่สั่งให้อ้าปาก แล้วพ่นยาที่คอคนป่วย (กดพ่นประมาณ 3 ครั้ง)
      1.2 ให้คนป่วยปิดปากกลั้นหายใจประมาณ 5วินาที(นับหนึ่ง ถึง สิบ)
      1.3 กลืนน้ำลาย
      1.4 ทำกระบวนการที่ 1.1. ถึง 1.3 อีกรอบ

2 รอจนคอมีอาการชา โดยการลองกลืนน้ำลาย(จะไม่มีความรู้สึกว่ากำลังกลืนน้ำลาย ถือว่า ยาชาออกฤทธ์แล้ว)

3 เริ่มกระบวนการสอดใส่กล้องเข้าทางปาก(ผ่านช่องนำร่อง)


ความรู้สึกระหว่างกระบวนการ ส่องกล่อง
   
  1 ขณะกล้องถูกสอดผ่านลำคอ จะมีอาการขย้อนเล็กน้อย(จะอ๊วก)  เหมือนกับการกลืนอาหารคำโตๆที่ไม่ได้เคี้ยวเท่านั้นเอง

 2  เมื่อกล้องผ่านลำคอไปแล้ว จะรู้สึกรำคาญที่ลำคอเล็กน้อย(เหมือนกระดูกชิ้นเล้กๆติดคอ-อย่าไปสนใจ)

 3 ขณะที่กล้องอยู่ในช่องท้อง จะไม่มีความรู้สึกอะไร จะได้ยินเสียงแพทย์สั่งการเจ้าหน้าที่ผู้ช่วย พร้อมกับเสียงชัทเตอร์ถ่ายภาพ


   วิธีการปฏิบัติขณะอยู่ระหว่างการส่องกล้อง

1 ไม่ต้องสนใจกระบวนการต่างๆ (ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแพทย์) ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เท่านั้น
2  ก่อนสอดใส่กล้อง ถ้ามีอาการคันคออยากจะไอ หรือมีเสมหะติดคอ ให้ทำธุระให้เรียบร้อย
3  ขึ้นนอนบนเตียงตะแคงซ้าย หันหน้าเข้าหาแพทย์
4  คาบอุปกรณ์นำร่อง(สำหรับประคองตัวกล้องตอนสอดลงในคอผู้ป่วย) ให้ทำตัวสบายๆและผ่อนคลาย
5 ขณะแพทย์กำลังสอดใส่กล่องเข้าในลำคอ ไม่ต้องช่วยกลืน อาจจะมีการขย้อนเล็กน้อย(เป็นอาการปกติของทุกคน)
6  เมื่อกล้องถูกสอดผ่านลำคอเรียบร้อยแล้ว ให้นอนหลับตา หายใจลึกๆยาวๆ เข้าออกทางจมูก อย่ากลืนน้ำลาย ปล่อยให้ไหลออกมาตามธรรมชาติ
7 แพทย์จะใช้เวลาทำงาน ประมาณ 5-7นาที่ ก่อนจะนำกล้องออกจากช่องท้อง
http://www.si.mahidol.ac.th/office_d/adm/Gi_scope/egd.html