การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เป็นการตรวจหาสาเหตุ ที่มีประสิทธิภาพที่สุด (รายละเอียดดูได้จาก ลิงค์ด้านล่าง)
จากประสพการจริง ในการเข้ารับการตรวจด้วยการส่องกล้อง เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2558
มาถึงฝ่ายอายุรกรรมโรงพยาบางสงขลานครินทร์ตามเวลา(เช้ากว่า)ปกติ ด้วยระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ทำให้ความรู้สึกที่(เคย)ไม่ดีต่อการบริการของโรงพยาบาลของรัฐฯหายไปเกือบหมด
หลังจากได้ยื่นเอกสารรับรองค่าใช้จ่ายประกันสังคมแล้ว(เป็นขั้นตอนพิเศษของระบบประกันสังคม-เยี่ยมจริงๆ) ก็ไปติดต่อที่แผนกระบบทางเดินอาหารชั้น 11 ของอาคาร 13 ชั้น (ตึกเฉลิมพระบารมี - ฉบ.)
อุตส่ห์มาเร็วกว่าที่นัดหมาย มาถึงเป้นรายแรก เจ้าหน้าที่ยังไม่ทำงาน แต่มีคิวคนไข้คิวก่อนหน้าอยู่หลายคน ได้รอคิวการตรวจจนเวลา 11.00(ถูกจัดลำดับตามใบนัด) ถึงได้รับการตรวจเกือบเป็นคนสุดท้ายแต่ก็ได้รับการตรวจล่าช้ากว่าเวลานัดประมาณ ครึ่งชั่วโมง
ก่อนจะมารับการตรวจ อยากให้เตรียมตัวให้พร้อม(รวมถึงเตรียมสภาพจิตใจด้วย)ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนเตรียมตัว
1 งดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง(มักจะสั่งให้งดหลังเที่ยงคืน)
2 มาตามนัดและตรงเวลาเสมอ (เพราะถ้ามาช้าอาจจะโดนข้ามคิว)
3 เตรียมใจมาให้พร้อมไม่ต้องกลัว และอย่าเครียด
สิ่งที่จะต้องมีความเชื่อมั่น
1 เชื่อมั่นในตัวแพทย์ แพทย์ที่ทำหน้าการตรวจส่องกล้อง เก่งและมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
2 เชื่อมั่นในเทคโนโลยี คิดเสมอว่า การส่องกล้องเป็นสิ่งที่ปฏิบัติมานาน เชื่อถือได้และปลอดภัย
3 ต้องเชื่อมั่นในตัวเอง ว่า การส่องกล้องเป็นสิ่งที่คนทั่วไปทำได้ เราก็ต้องทำได้
4 เชื่อถือผู้เล่า เรื่องนี้ ว่า จริงๆแล้วไม่เจ็บปวดในขณะทำ(รับรองได้เพราะเพิ่งไปทำมา)และยังใช้เวลาระยะสั้นๆเท่านั้นเอง
ขั้นตอน
1การให้ยาชาเฉพาะที่ (พ่นยาที่คอ)
1.1 เจ้าหน้าที่สั่งให้อ้าปาก แล้วพ่นยาที่คอคนป่วย (กดพ่นประมาณ 3 ครั้ง)
1.2 ให้คนป่วยปิดปากกลั้นหายใจประมาณ 5วินาที(นับหนึ่ง ถึง สิบ)
1.3 กลืนน้ำลาย
1.4 ทำกระบวนการที่ 1.1. ถึง 1.3 อีกรอบ
2 รอจนคอมีอาการชา โดยการลองกลืนน้ำลาย(จะไม่มีความรู้สึกว่ากำลังกลืนน้ำลาย ถือว่า ยาชาออกฤทธ์แล้ว)
3 เริ่มกระบวนการสอดใส่กล้องเข้าทางปาก(ผ่านช่องนำร่อง)
ความรู้สึกระหว่างกระบวนการ ส่องกล่อง
1 ขณะกล้องถูกสอดผ่านลำคอ จะมีอาการขย้อนเล็กน้อย(จะอ๊วก) เหมือนกับการกลืนอาหารคำโตๆที่ไม่ได้เคี้ยวเท่านั้นเอง
2 เมื่อกล้องผ่านลำคอไปแล้ว จะรู้สึกรำคาญที่ลำคอเล็กน้อย(เหมือนกระดูกชิ้นเล้กๆติดคอ-อย่าไปสนใจ)
3 ขณะที่กล้องอยู่ในช่องท้อง จะไม่มีความรู้สึกอะไร จะได้ยินเสียงแพทย์สั่งการเจ้าหน้าที่ผู้ช่วย พร้อมกับเสียงชัทเตอร์ถ่ายภาพ
วิธีการปฏิบัติขณะอยู่ระหว่างการส่องกล้อง
1 ไม่ต้องสนใจกระบวนการต่างๆ (ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแพทย์) ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เท่านั้น
2 ก่อนสอดใส่กล้อง ถ้ามีอาการคันคออยากจะไอ หรือมีเสมหะติดคอ ให้ทำธุระให้เรียบร้อย
3 ขึ้นนอนบนเตียงตะแคงซ้าย หันหน้าเข้าหาแพทย์
4 คาบอุปกรณ์นำร่อง(สำหรับประคองตัวกล้องตอนสอดลงในคอผู้ป่วย) ให้ทำตัวสบายๆและผ่อนคลาย
5 ขณะแพทย์กำลังสอดใส่กล่องเข้าในลำคอ ไม่ต้องช่วยกลืน อาจจะมีการขย้อนเล็กน้อย(เป็นอาการปกติของทุกคน)
6 เมื่อกล้องถูกสอดผ่านลำคอเรียบร้อยแล้ว ให้นอนหลับตา หายใจลึกๆยาวๆ เข้าออกทางจมูก อย่ากลืนน้ำลาย ปล่อยให้ไหลออกมาตามธรรมชาติ
7 แพทย์จะใช้เวลาทำงาน ประมาณ 5-7นาที่ ก่อนจะนำกล้องออกจากช่องท้อง
http://www.si.mahidol.ac.th/office_d/adm/Gi_scope/egd.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น